วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

เหรียญสวยมาก...ครูบาอินตา วัดห้วยไซร ลำพูน

อัตโนประวัติของหลวงปู่ ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”

หลัง จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือในเรื่องของวิชาอาคมแขนงต่างๆ ระหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา อนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ

พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก เวบวัดป่ามากๆครับ
"หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ"
พระครูถาวรวัยวุฒิ (หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ)
วัดห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน 
อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส (ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้ามากได้ปรมัติสูญสตาอรรถพยัญชนะทรงอภิญาชั้นสูง)เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์(เป็นศิษย์ครูบาหลวงวัดฝายหิน จบสตาปรมัติรู้ภาษานกกาได้ เจนจบ 9 มัด) พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”

หลัง จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในเรื่องของวิชาพลังจิตที่สูงมากตลอดถึงในวิชาอาคมแขนงต่างๆ ประกอบกับการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระควบคู่กันไประหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา อนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ

พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า ครูบาสิริ วัดปากกองสารภี(ครูบาผีกลัว)ครูบาแก้ว สันกำแพงครูบาดวงทิพย์ วัดสันคะยอม(เป็นพระที่ครูบาพรหมาจักรนับถือมากๆ) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ขึ้น

สำหรับวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา ไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือเป็นที่ ต้องการกันมากทำให้ทำแจกแทบไม่ทัน ยุคต่อๆมาเมื่อท่านชราภาพก็ให้ลูกศิษย์ที่พอมีความรู้เป็นผู้ทำให้โดยใช้ ตำราของท่านแล้วให้หลวงปู่ครูบาอินตาเสกเป่าอีกครั้ง ลักษณะของตระกุดจะมีดอกเดียวที่เรียกกันว่าตระกุโทนโดยใช้ตะกั่วทำ ตะกั่วนั้นได้จากหลังกระจกสีที่ใช้ติดตามห้าบรรณวิหารและตามเจดีย์ในสมัย ก่อนเมื่อชำรุดตกหล่นลงมาท่านจึงได้นำมาทำเป็นตระกุด ต่อมาศิษย์จึงได้ขอนุญาติจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓ และอีกหลายๆรุ่นในเวลาต่อมา ทั้งเหรียญ รูปหล่อลอยองค์ รูปเหมือนบูชาขนาดต่างๆ ล็อกเก็ต พระผง วัตถุมงคลรุ่นต่างๆที่ท่านได้อธิฐานจิตปุกเสกเอาไว้ก็มีอิทธิปาฏิหาริย์จน เป็นที่ลำลือเช่นกันและได้รับความนิยมมาก เหรียญใบโพธิ์ รุ่นสมปรารถนา แซยิด ๙๑ พ.ศ.๒๕๓๘ หนึ่งในเหรียญประสบการณ์ที่โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาดคงกระพัน มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่ามีเด็กวัยรุ่นถูกคู่อริไล่ยิงและถูกยิงจนเสื้อที่ สวมนั้นขาดเป็นรอยลูกกระสูนรูพรุน แต่ลูกกระสูนไม่ได้ผ่านเข้าผิวแค่เป็นรอยจุดแดงซ้ำเป็นยางบอนเจ็บๆแสบๆเท่า นั้น ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ที่เข้าไปช่วยเหลือขอดูของดีที่วัยรุ่นคนนั้นพกติดตัว ที่คอของเขามีเพียงเหรียญใบโพธิ์ของครูบาอินตาเพียงเหรียญเดียว ทำให้เหรียญรุ่นดังกล่าวเป็นที่แสวงหากันมาก นี้เป็นเพียงแค่หนึ่งในประสบการณ์ของวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตาที่มี อยู่มากมายหลายต่อหลายครั้ง 
อัฐิธาตุที่แปรเปลี่ยนเป็นผลึกพระธาตุแล้วของหลวงปู่ครูบาอินตา อินทปัญโญ เอกองค์พระอาจารย์ที่ให้ดวงกรรมฐานกับครูบากฤษดา ตั้งแต่เป็นสามเณร ที่ท่านสามารถปราบความคิดที่อยากรู้อยากเห็น ซุกซนโลดเเล่นแก่นแก้วสามารถดักทางความคิดจิตของครูบากฤษดา ได้ทั้งหมดตั้งแต่เป็นสามเณรร่ำเรียนอยู่ในสำนักวัดห้วยไซใต้ ถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกครับ และก็มีครูบาชัยวงค์ได้ไปกราบคารวะสนทนาเป็นบางครั้งคราว และมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ครูบากฤษดาเทิดเหนือหัวคือหลวงปู่พิสดู ธัมมจารี เป็นที่สุดครับ
 พระปิดตาประคำรอบ(เนื้อผงคลุกรัก)หลวงพ่อทองดี วัดทองดีประชาราม นราธิวาส ปี2524

พระปิดตาประคำรอบ(เนื้อผงคลุกรัก)หลวงพ่อทองดี วัดทองดีประชาราม นราธิวาส ปี2524 องค์ขนาดเล้กเท่าเม้ดกระดุม สร้างโดยหลวงพ่อทองดี วัดทองดีประชาราม อานิสงค์เด่นทางเมตตา,คงกระพัน,แคล้วคลาด,มหาลาภ,มหานิยม,มหาอุด พระปิดตาของท่านน่าเก้บสะสมมากเพราะมุลค่าไม่แพงมากนัก ถ้าเปรียบกับหลวงพ่อครน อาจารย์ของท่านแล้ว แต่ก้อจัดขึ้นทำเนียบของดี14จังหวัดภาคใต้ ที่น่าใช้และสะสมเหมือนกันองค์เล้กกระทัดรัดจิ้ว พกพาไปไหนมาไหนสะดวกแถมท่านเป้นศิษย์เอกของพ่อท่านครน วัดบางแซะ พระก้อสร้างตามต้นฉบับเดิมเนื้อผงคลุกรัก เน้นหนักไปทางเมตตา มหานิยม สุดๆคนพื้นที่ทราบดีคับ

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

หลวงปู่ทวด หลังหนังสือเล็ก ปี 05 เนื้อทองแดงรมดำ ( ว. กระเด็น ) เลี่ยมทองพร้อมใช้ 

มงคลวัตถุที่ขุนพันธ์ฯ สร้างร่วมกับพ่อท่านกลั่น เจ้าอาวาส วัดเขาอ้อ และพิธีดีสุดยอด ต้องรุ่นขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อนี้ครับ โลหะชนวนมวลสาร มหามงคลวัตถุรุ่น ขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อ ทั้งเนื้อโลหะและเนื้อผง ล้วนแล้วแต่ใช้ส่วนผสมหลักของพระหลวงพ่อทวด รุ่น 100 ปี ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช (ซึ่งมีชนวนโลหะอถรรพเวท แร่ธาตุกายสิทธิ์ จากปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อครั้งบูรณะปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อปี 2537-2538 โดยทางกรมศิลปากร ได้มอบให้ท่านขุนพันธ์ฯ ไว้) ซึ่งมีอยู่มากมายจนไม่สามารถนำมาบรรยายในที่นี้ และยังมีโลหะชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ อีกมากจากพระเกจิอาจารย์ทั่วสารทิศ รวมทั้งแผ่นพระยันต์ 108 นะ 14 นะ ที่พิเศษสุดก็คือ เนื้อนวโลหะพิเศษแก่ทองได้ใช้ทองคำ 2 กิโล (น้ำหนัก 130 บาท) ผสมผสานเพื่อให้เนื้อหากลับดำสนิท นอกจากนี้ยังได้จัดสร้างเป็นเนื้อทองมหาสัตตโลหะ ตามตำรับวิชาเล่นแร่แปรธาตุสำนักเขาอ้อ คือมีสีสรรค์วรรณะ คล้ายทองคำ โดยไม่มีทองคำผสมอยู่เลย สามพิธีมหามงคล พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นศิษย์ฆราวาสเขาอ้อมาช้านานจึงยึดมั่นและเคร่งครัดในด้านพิธีกรรมอย่างยิ่ง

ดังนั้นเมื่อมหามงคลวัตถุรุ่น ขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อ ที่ท่านเป็นประธานฝ่ายจัดสร้างเองจึงย่อมต้องทำให้บรรลุ ถึงความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง เป็นศรีแน่วัตถุมงคลที่จัดสร้างและผู้ที่มีไว้บูชาสักการะ

พิธีกรรมครั้งที่ 1 ประกอบพิธีเททองแบบโบราณตามตำรับสำนักวัดเขาอ้อ ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2544 เวลา 9.19 น. ณ สำนักวัดเขาอ้อ โดยมีพระเกจิอาจารย์จำนวน 8 รูป นั่นปรกปลุกเสกประจำทิศ และศิษย์ฆราวาสเขาอ้อ คือ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช อาจารย์ฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช และอาจารย์ประจวบ คงเหลือ ร่วมกันประกอบพิธีกรรมอ่านโองการณ์บวงสรวงอัญเชิญเทพยดา เจ้าป่าเจ้าเขา บูรพคณาจารย์สำนักเขาอ้อ

พิธีกรรมครั้งที่ 2 ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ในวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2544 เวลา 9.19 น. โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วภาคใต้นั่งปรกบริกรรมภาวนา โดยมี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นบัณฑิตเจ้าพิธีกรรม

พิธีกรรมครั้งที่ 3 ประกอบพิธีปลุกเสกภายในถ้ำฉัตรฑัณฑ์ สำนักวัดเขาอ้อในวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2544 เวลา 9.19 น. โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายเขาอ้อนั่นปรกปลุกเสก และศิษย์ฆราวาสเขาอ้อ คือ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช อาจารย์ฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช อาจารย์ประจวบ คงเหลือ ร่วมกันเป็นบัณฑิตเจ้าพิธีกรรม บวงสรวงเทพยดา เจ้าป่าเจ้าเขาบูรพาคณาจารย์เขาอ้อให้มาเป็นสักขีพยานและร่วมประสิทธิ์ประสาท

ประสบการณ์พิสูจน์แล้วว่าดีทั้งโชคลาภและแคล้วคลาด สุดยอดพิธีมหามงคลสุดเข้มขลังของปี 2544 กับพระหลวงพ่อทวด บัวรอบ ก้นลายเซ็นต์ขุนพันธ์ฯ

พระปิดตาเขาอ้อ เนื้อนวโลหะแก่ทองคำก้นเงิน รุ่นขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อ วัดเขาอ้อปี 2544  รูปแบบสวยๆ มีตอกโค้ด ผิวเดิมๆกลับดำแล้ว รุ่นนิยม พิธีใหญ่ๆ สร้างน้อย หายาก พระแท้ๆ ดูง่ายๆครับ

องค์นี้ตอกโค้ดและหมายเลข

องค์นี้ไม่ผ่านการใช้ ขณะนี้เริ่มไม่ค่อยได้เห็นแล้ว อีกหน่อยราคาน่าจะแรงขึ้นอย่างแน่นอน

บูชาพร้อมกล่องเดิมจากวัด

*** รับประกันความแท้ 100% ***
*** บูชาพร้อมกล่อง    0.- บริการส่งฟรีทั่วประเทศ ***

*** มีจำนวนจำกัดรีบๆหน่อยนะครับ ***

พระสี่เหลี่ยมพิมพ์ประภามณฑลรัศมีพิมพ์ใหญ่หลวงปู่ศุขฯ

พระหลวงปู่ศุข. วัดปากคลองมะขามเฒ่า. พิมพ์ข้างรัศมี. หลังจารลายมือพุทธซ้อน. พระเนื้อชินตะกั่ว. เปิดให้บูชาครับ. สนใจทักแชทมานะครับ. ราคาแบ่งปันครับ




เปิดประมูล. พระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พิมพ์ข้างอุ เนื้อชินตะกั่ว พระเนื้อตะกั่วของท่านมีมากมายหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่เป็นมาตรฐานสากลและนิยมที่สุดในพระเนื้อตะกั่ว คือพิมพ์ข้างอุแบบนิยมองค์นี้ พิมพ์ข้างอุมีแยกอีกมากมายหลายแม่พิมพ์ แบบพิมพ์โบราณ และพิมพ์ชาวบ้านก็มี การเล่นหาต้องดูพิมพ์ทรง เนื้อหา ธรรมชาติ และการตัดขอบด้านข้างเป็นสำคัญ เนื้อหาของแท้จะเป็นชินตะกั่วคือมีดีบุกและโลหะอื่นผสมแบบพระโบราณไม่ใช่ตะกั่วล้วนๆ พระหลวงปู่ศุขนี้มีของปลอมมากมายหลายฝีมือ จะมีพระปลอมที่มีลักษณะนำตะกั่วเก่ามาเททำให้เกิดความเก่ามีไขคลุม ยากต่อการพิจารณาต้องดูพิมพ์มาตรฐานสากลเป็นหลัก ปัจจุบันมีการเล่นหาที่ค่อนข้างสับสน สำหรับองค์นี้

พระปิดตา หลวงพ่อปาน วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี
รายละเอียด
พระปิดตา หลวงพ่อปาน วัดเครือวัลย์ หลังเรียบ จ.ชลบุรี และกิตติศัพท์เรื่อง เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณว่ากันว่าโดดเด่นทางด้าน เมตตาและโชคลาภ เป็นสุดยอด พระปิดตาเลยที่เดียวครับ แค่ นำว่าน มงคลนาม 108 ชนิดมารวมและบดผสมกัน อาทิ ไม้ไก่กุก กาฝากรัก กาฝากมะยม กาฝากมะขาม ฯลฯ องค์ที่นำมาโชว์ นี้ครับ หลังจากกดพิมพ์แล้วยังบรรจงจุ่มรักอีกรอบหนึ่ง เพื่อรักษาองค์พระให้คงทนและตัวรักนี้เอง บ่งบอกถึงอายุครับได้ทั้งความสวยงาม และง่ายต่อการพิจารณาอายุของพระครับ หากหาหลวงพ่อแก้วไม่ได้ ก็ใช้หลวงพ่อปาน นี้แทนได้ครับ


พระขุนแผนหลวงพ่อกวย

พระขุนแผนเนื้อดินหลังเรียบ ยุคแรกของหลวงพ่อกวย (มีพิมพ์อยู่ที่วัด)พุทธคุณ ด้านเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันครบสูตร ตามมาตรฐานพระคู่กายชายชาตรีเป็นที่ประจักษ์มาโดยตลอดฯ
ขอนำเสนอพร้อมพระคาถาขุนแผนที่มีในหนังสือมนต์แก้วสารพัดนึก ของทางวัดครับ

ตั้งนะโม3จบ รำลึกนึกถึงบารมีคุณพระรัตนตรัย หลวงพ่อกวยและพ่อขุนแผนเป็นที่สุด
อมสิทธิ ท้าวฟื้นเจริญศรี หน้ากูงามคือพระแมน ณะมะพะทะ
แขนกูงามคือพระนาราย ฉายกูงามคือพระอาทิตย์ ฤทธิกูงามคือพระจัน 
สาวในเมืองสวันเห็นหน้ากูอยู่มิได้ กูมาระลึกถึงฝูงหงษ์มาลืมข้ามคูหา
กูมาระลึกถึงมหาเสนา ก็มาลืมแท่นที่นอน กูมาระลึกถึงลูกไก่อ่อน ก็วิ่งตามกูมา
กูมาระลึกถึงสาวใช้ก็มาลืมแม่ กูมาระลึกถึงสาวแก่ก็มาหลงไหล
กูมาระลึกถึงเจ้าทัยเทวีก็มาลืมสวดมนต์ กูมาระลึกถึงฝูงคนก็มารักกูอยู่ทั่วหน้าทั่วชั้นฟ้าและพื้นดิน
เหมือนช้างรักงา ปลารักน้ำ เข้าอยู่ในดง ผมก็ลืมเกล้า ข้าวอยู่ในคอก็ลืมกลืน 
ให้สะอื้นคิดถึงตัวกู อยู่ทุกเวลาและราตรี อิติลีกันหาชูชะโกโมกรุณาพุทปราณี ทายินดี 
ยะเอ็นดู เอหิกะระนิโย อิติพิโส พะคะวาณะลีติ อิติมานิยมฯ

เหรียญสวยมาก...ครูบาอินตา วัดห้วยไซร ลำพูน อัตโนประวัติของหลวงปู่ ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘...